WelCome To NuNoyGirl Group (Sec A)

ยินดีต้อนรับสู่กลุ่ม NuNoyGirl

สมาชิกกลุ่ม ....

1. รหัส 51116940018 น.ส.สุวดี คุ้มกัน
2. รหัส 51116940027 น.ส.ปิยาภรณ์ อยู่สำราญ
3. รหัส 51116940049 น.ส.ศิริพร ยิ้มทิม

คำแถลงกลุ่ม ....

กลุ่มนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในรายวิชา กฎหมายและจริยธรรมเพื่อวิชาชีพสารสนเทศ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต และเพื่อใช้ในการส่งงานในรายวิชานี้ด้วย อีกทั้งเป็นแนวทางในการรับความคิดเห็นจากบุคคลต่างที่ต้องการเสนอแนะความคิดเห็นในการ Update แต่ละครั้งด้วย

หากมีข้อคิดเห็นอะไรเพิ่มเติม สามารถแสดงความคิดเห็นได้ค่ะ

วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สิทธิทางการศึกษาในสังคมไทยในปัจจุบัน

สิทธิ ในตามความหมายของพจนานุกรม คือ อำนาจอันชอบธรรม
การศึกษา ในตามความหมายของพจนานุกรรม คือ การเล่าเรียน, การฝึก, การอบรม

ดังนั้น สิทธิทางการศึกษา คือ เสรีภาพทางการเรียนรู้ หรือ เสรีภาพทางวิชาการ

===========================================================

สิทธิทางการศึกษาในสังคมไทย

สิทธิทางการศึกษา เสรีภาพทางวิชาการและสิทธิที่จะรู้ เป็นสิทธิสำคัญที่มนุษย์ขาดไม่ได้เลย คือ สิทธิที่จะเรียนรู้และศึกษา ซึ่งเป็นสิทธิที่จะทำให้คนเราได้มีวิชาความรู้ ความคิด สติปัญญา ความสามารถในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตทางสังคม สิทธิทางการศึกษานี้ไม่ได้หมายความถึงเพียงแต่การได้รับการศึกษาในระบบ หรือการศึกษาในโรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่มีหลักสูตร การวัดและการประเมิณผลที่แน่นอนเท่านั้น แต่รวมถึงการศึกานอกระบบที่จัดนอกโรงเรียน มีความยืดหยุ่นมากกว่า และมีความสอดคล้องกับสภพปัญหาและความต้องการของแต่ล่ะกลุ่ม อย่างไรก็ตามมนุษย์สามารถแสวงหาความรู้ได้ตลอดเวลา แม้ว่าจะเรียนจบการศึกษาในระดับสูงเพียงใดก็ตาม ซึ่งสิทธิทางการศึกษาได้บัญญัติไว้ในมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540

โดยทั่วไป ในการศึกษาหาความรู้ไม่ว่าจะเป็นในระบบหรือนอกระบบ "วิชาความรู้" เป็นเพียงเงื่อนไขและปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้ถูกต้องมากน้องเพียงใด นอกจากความรู้ ความสามารถ อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือแล้ว ยังขึ้นกับเสรีภาพของครู-อาจารย์ และนักวิชาการเป็นสำคัญ ถ้าใครมาปิดกั้นเสรีภาพทางวิชาการอย่างไม่มีเหตุผล ก็หมายความว่า เป็นการปิดกั้นเสรีภาพทางวิชาการและโอกาสในการพัฒนาความรู้ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ได้รองรับเสรีภาพทางวิชาการไว้ในมาตรา 42

นอกจากนี้ยังมีสิทธิประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสิทธิทางการศึกษา เสรีภาพทางวิชาการ และสิทธิทั้งหลายทั้งปวง คือ สิทธิที่จะได้รู้ข้อมูลข่าวสาร เพราะเป็นสิทธิที่จะทำให้เราซึ่งเป็นพลเมือง ได้รู้ว่าทางการบ้านเมือง องค์กรทางเศรษฐกิจและสังคมจะทำอะไร หรือกำลังทำอะไรสิ่งนั้น จะมีผลต่อความเป็นอยู่ของตนมากน้อยเพียงใด สิทธิที่จะได้รู้ข้อมูลข่าวสาร เป็นสิทธิที่จะทำให้คนเราหู-ตาสว่าง และปกป้องสิทธิของเราได้มากขึ้น การที่หน่วยงานของรัฐจะทำสิ่งใดที่กระทบสิทธิของเรา จะต้องเป็นไปอย่างรอบคอบ และพิจารณาอย่างรอบด้านมากขึ้น การจะเวนคืนที่ดินหรือการจะสร้างโครงการพัฒนาใด รัฐก็จะต้องให้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องเสียก่อน หรือถ้าหน่วยงานของรัฐไม่แจ้งข้อมูลให้ทราบ เราก็มีสิทธิที่จะขอข้อมูลข่าวสารที่รัฐครอบครองได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ตั้งโครงการ ความจำเป็นที่ต้องมีโครงการ แผนผัง แผนที่ รายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น สิทธิดังกล่างบัญญัติไว้ในมาตรา 58 ของ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540

===========================================================

พระราชบัญญัติ

มีทั้งหมด 10 หมวด 74มาตรา (รวมบทเฉพาะกาล) ตัวอย่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง เช่น

มาตรา 42 ให้กระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีหน้าที่ในการประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษา สอดคล้องกับนโยบายและได้มาตรฐานการศึกษา รวมทั้งการเสนอแนะ การจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

มาตรา 43 การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน ให้มีความเป็นอิสระ โดยมีการกำกับ ติดตาม การประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากรัฐ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เช่นเดียวกับสถานศึกษาของรัฐ

มาตรา 58 ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สิน ทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนเอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น และต่างประเทศมา ใช้จัดการศึกษาดังนี้
(๑) ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยอาจจัดเก็บภาษี เพื่อการศึกษาได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
(๒) ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากร เพื่อการศึกษา โดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา บริจาคทรัพย์สิน และทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา และมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น

ทั้งนี้ ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากร ดังกล่าว โดยการสนับสนุน การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี ตามความเหมาะสม และความจำเป็น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=286372

===========================================================

กรณีศึกษา...

การสำรวจสถานการณ์ด้านข้อเท็จจริงในสถาบันการศึกษาไทยภายใต้โครงการเด็กไร้รัฐ

ที่มา : http://gotoknow.org/blog/stateless-and-nationalityless-management-by-law/82122

ความคิดเห็นของกลุ่ม ...

สังคมไทยในปัจจุบันก็มีสิทธิที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับเด็กไทย สิทธิทางการศึกษาถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆในการที่จะให้เด็กเป็นอนาคตของชาติในรุ่นต่อๆไป และทุกวันนี้ยังมีผู้ที่ยังไม่ได้รับสิทธิทางการศึกษา ส่วนมากจะเป็นผู้ที่ยากจน เงินทอง ในการหาเลี้ยงชีพของครอบครัว ถึงทำให้ขาดสิทธิในการศึกษาขั้นพื้นฐานของเด็กไทย และอีกกลุ่มเป้าหมายหนึ่งก็คือ เด็กไร้สัญชาติ อาจจะมีโอกาสเรียน แต่จะไม่สามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษา ไปสมัครงานได้ แต่เรื่องนี้ก็ได้มีการดำเนินการแล้วในส่วนของหน่วยงานขึ้นทะเบียนบุคคลขอสัญชาติ ในการขอขึ้นเป็นบุคคลสัญชาติไทย ดังนั้นแล้ว ทุกวันนี้ทุกคนจึงต้องเห็นความสำคัญกับเด็กไทยทุกคน ไม่ว่าจะรวยหรือจน ก็ต้องให้เด็กทุกคนมีสิทธิทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ เมื่ออายุ 7 ปี ควรได้รับการเข้าศึกษาในชั้น ป.1 และได้รับสิทธิในการเรียนต่อถึงอีก 8 ปี (กฎหมายที่ระบุไว้จากที่เคยได้ฟังจากสื่อโทรทัศน์ แต่โดยรวมคือ 9 ปี คือจบมัธยมศึกษาปีที่ 3) ดังนั้นแล้วรัฐบาลควรให้โอกาสเด็กไทยทุกคนมีสิทธิทางการศึกษาเพื่อจะให้เด็กเหล่านี้เป็นอนาคตของชาติต่อไป

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สิทธิทางการศึกษาในปัจจุบันมีการขยายโอกาสอย่างกว้างขวาง การศึกษาตามความหมายคือการเล่าเรียน การอบรม คนเราเมื่อเกิดมามีการเรียนรู้จากสิ่งรอบข้างตั้งแต่เกิดจนตาย การศึกษาไม่ได้หมายความว่าถ้าเรียนจบดร. แล้วจะเก่งหรือถือว่าเป็นการศึกษาในระดับสูงแล้วไม่ต้องศึกษาหรือเรียนต่อ คนเรามีการศึกษาหาความรู้และเล่าเรียนจนตาย ในปัจจุบันคนที่มีโอกาสได้ศึกษาแต่กลับไม่เรียนชอบโดดเรียนหนีไปเที่ยว แต่คนที่ไม่มีโอกาสได้เรียน อยากที่จะเรียน เพื่อนำความรู้เหล่านี้ไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัวทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ในประเทศไทยยังมีเด็กที่ต้องการเรียนรู้อีกมาดังเช่น เด็กพม่าที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย (ตัวอย่างที่ได้ศึกษามาจาก :http://www.statelessperson.com/www/?q=node/866